กิจกรรมอบรมการใช้ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพในโรงเรียน

เผยเเพร่เมื่อ 672 เข้าชม

ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมอบรมการใช้ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพในโรงเรียน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ : หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

1. เพื่อส่งเสริมการใช้ผลผลิตทางการเกษตรให้ครูและนักเรียนได้เพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพในโรงเรียน

2.เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาถ่ายทอดความรู้การใช้ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพให้ครูและนักเรียนในโรงเรียน

รายละเอียดกิจกรรม

ดำเนินโครงการจัดอบรมกิจกรรมดำเนินการให้ความรู้การใช้ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพในโรงเรียนโรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ฝึกปฏิบัติการทำอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร งานใบตอง การเพิ่มมูลค่าผักผลไม้ทางการเกษตรโดยวิธีแกะสลัก งานผ้าการเย็บด้วยมือ งานผ้ามัดย้อมแบบญี่ปุ่น งานผ้าการตัดต่อผ้า งานศิลปะตัดกระดาษเชิงสร้างสรรค์

กิจกรรมมีการบูรณาการกับการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาใดบ้าง อย่างไร

รายวิชาศิลปะในงานคหกรรมศาสตร์ อาหารว่างและเครื่องดื่ม การประดิษฐ์เครื่องสดไทย หลักการตัดเย็บเสื้อผ้า ขนมอบ

งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการบริการวิชาการครั้งนี้

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพน้ำข้าวฮางงอกผสมน้ำผลไม้พื้นถิ่น

กิจกรรมมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หรือไม่อย่างไร

สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ อบต.ม่วง โรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม

ผลการดำเนินงานในกิจกรรม

 

ลำดับที่ รายละเอียด ค่าเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน
1 นักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม 100 คน 100 คน
2 นักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ 80 คน 80 คน
3 ครูโรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม 4 คน 4 คน
4 อาจารย์ 5 คน 5 คน

 

สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ

1. ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม ได้ใช้ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ได้ตามเป้าหมาย และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสร้างรายได้หรือจำหน่ายและถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้

2. อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้ผลผลิตทางการเกษตร แต่ละกิจกรรม เช่นการแกะสลักผักผลไม้ การทำงานใบตอง การทำขนม เพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพให้ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม แต่ละกิจกรรม บรรลุตามเป้าหมาย

3. ปรับกิจกรรมให้เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน และเพิ่มฐานกิจกรรมให้มีความหลากหลาย