กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถขยายสายพันธุ์ไส้เดือน ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนและน้ำหมักมูลไส้เดือนหลังการอบรมและสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงไส้เดือน

เผยเเพร่เมื่อ 627 เข้าชม

ชื่อกิจกรรม : ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถขยายสายพันธุ์ไส้เดือน ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนและน้ำหมักมูลไส้เดือนหลังการอบรมและสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงไส้เดือน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

  1. ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริการวิชาการของคณะเทคโนโลยีการเกษตรแก่ชุมชนและโรงเรียนใกล้เคียง
  2. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำองค์ความรู้ที่ได้ ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือนำไปจัดการกับดินเสื่อมโครมและกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้เองได้ สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนโดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง
  4. เพื่อให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มีความรู้และฝึกประสบการณ์ในการบริการวิชาการและการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน

รายละเอียดกิจกรรม

การบรรยายและส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถขยายสายพันธุ์ไส้เดือน ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนและน้ำหมักมูลไส้เดือนหลังการอบรมและสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงไส้เดือน

กิจกรรมมีการบูรณาการกับการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาใดบ้าง อย่างไร

รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงและรายวิชาปัญหาพิเศษทางเทคนิคการสัตวแพทย์

งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการบริการวิชาการครั้งนี้

ชุดเพาะเลี้ยงไส้เดือนจากโครงการวิจัยเรื่องการเพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อพัฒนาเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่จากสำนักงานประสานงานโครงการวิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

ผลการดำเนินงานในกิจกรรม

ผลการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถขยายสายพันธุ์ไส้เดือน ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนและน้ำหมักมูลไส้เดือนหลังการอบรมและสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงไส้เดือน ณ ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร

ลำดับที่ รายละเอียด ค่าเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน
1 เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการ 15 คน 18 คน
2 นักศึกษาหลักสูตรเทคนิคการสัตวแพทย์ 10 คน 20 คน
3 บุคลากร 5 คน 9 คน

 

สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ

จากผลการประเมินจากแบบสอบถาม พบว่าการดำเนินโครงการในครั้งนี้ถือประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าจำนวน 47 คน เป้าหมายที่ตั้งไว้ (มากกว่า 17 คน) และมีผู้ประเมินโครงการจำนวน 19 คน ได้แก่ เพศหญิง 9 คน และเพศชาย 10 คน โดยมีอายุระหว่าง 21-65 ปี (อายุเฉลี่ยประมาณ 44 ปี) ผลการประเมินโครงการคือ 4.26±0.76 คะแนน