ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมปุ๋ยหมักคุณภาพสูงแบบด่วน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แลเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยหมักคุณภาพสูงแบบด่วนแก่ชุมชน
- เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมบรรยายให้ความรู้แก่เกษตรกร เรื่อง ปุ๋ยหมักคุณภาพสูงแบบด่วน และการผลิตพืชแบบปลอดภัย
- กิจกรรมสาธิตวิธีการทำปุ๋ยหมักคุณภาพสูงแบบด่วน
- ให้เกษตรกรประเมินกิจกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
กิจกรรมมีการบูรณาการกับการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาใดบ้าง อย่างไร
รายวิชาปฐพีวิทยาเบื้องต้น รายวิชาการใช้ดิน-ปุ๋ย-น้ำ และรายวิชาการวิเคราะห์ระบบเกษตร
งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการบริการวิชาการครั้งนี้
- Butnan, S., P. Vityakon. 2020. The interactive effects of soil disturbance and residue quality on soil nitrogen mineralisation in a tropical sandy soil. Soil Research 58: 277-288.
- Butnan, S., B. Toomsan, and P. Vityakon. 2019. Organic and chemical fertilizers have varied effects on tomato growth in a sandy soil. Khon Kaen AGR. 47(suppl.1): 1705-1710.
- สมชาย บุตรนันท์. 2020. การเพิ่มผลผลิตและลดปริมาณไนเตรตในผักโขมด้วยมูลจิ้งหรีดที่ใช้ร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา.
กิจกรรมมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หรือไม่อย่างไร
กิจกรรมปุ๋ยหมักคุณภาพสูงแบบด่วนมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนโดยการนอกจากให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพสูงแบบด่วนสู่ชุมชนแล้ว ยังมีการผสานงานเพื่อความร่วมมือในอนาคตในด้านอื่น ๆ
ผลการดำเนินงานในกิจกรรม
เกษตรกรได้รับการอบรมทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักคุณภาพสูงแบบด่วน นอกจากนี้ทางกิจกรรมยังมีนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 10 คน ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการบริการชุมชนในแง่ของการบริการวิชาการ และได้เห็นเทคนิคทางด้าน soft skill ในการเข้าหาผู้บริหารส่วนท้องถิ่นในระดับตำบลและการทำงานร่วมกับเกษตรกรทั่วไป จากการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกร ด้านความรู้ และการนำองค์ความรู้เพื่อต่อยอดไปสู่การเพิ่มรายได้ของเกษตรกร อยู่ในระดับดี
สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ
กิจกรรมปุ๋ยหมักคุณภาพสูงแบบด่วนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นโดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งเกษตรกร ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น นักศึกษาและบุคลากรสาขาวิชาพืชศาสตร์ ผู้บริหารระดับท้องถิ่นมีความต้องการให้มีกิจกรรมเช่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการตอบสนองที่ดีจากชุมชนต่อกิจกรรมนี้