ชื่อกิจกรรม : การประยุกต์ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่อผลิตเป็นอาหารปลา
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประมง
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับองค์ความรู้ด้านการผลิตอาหารปลาจากวัสดุในท้องถิ่น และการจัดการระหว่างการเลี้ยงปลา
- เพื่อบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชุมชนและนักศึกษาผ่าน ผ่านภารกิจ 4 ด้าน คือ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในระดับครัวเรือนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
การจัดอบรมให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ผู้สนใจ เขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในการเลือกวัตถุดิบสัตว์น้ำ การผลิตอาหารสัตว์น้ำการให้อาหารและจัดการอาหารสัตว์น้ำอย่างถูกต้องเพื่อลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย โดยทางสาขาวิชาได้ดำเนินการติดตามการจัดโครงการเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ข้อมูลและการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนด
กิจกรรมมีการบูรณาการกับการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาใดบ้าง อย่างไร
หลักสูตรการประมงได้บูรณาการการบริการวิชาร่วมกับการจัดการเรียน
การสอนยังเป็นหนึ่งในพันธกิจในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพด้วยการเรียนรู้ การให้องค์ความรู้แก่ชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงพื้นที่ ควบคู่ไปกับการใช้องค์ความรู้ในรายวิชาโภชนศาสตร์สัตว์น้ำ นักศึกษาได้นำองค์ความรู้จากรายวิชามาวิเคราะห์ ดำเนินการ และรวบรวมองค์ความรู้ไปใช้ร่วมกับชุมชน
งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการบริการวิชาการครั้งนี้
ผลของการใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วยน้ำคั้นจากสับปะรดในสูตรอาหารปลานิลต่อการเจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพความเครียดและเชื้อก่อโรค (วารสารแก่นเกษตร ปีที่ 46 (2561) ฉบับพิเศษ 1 หน้า 1011-1018) งานวิจัยของผู้ช่วยทรงทรัพย์ อรุณกมล และคณะ
ผลการดำเนินงานในกิจกรรม
ผลการดำเนินกิจกรรมการประยุกต์ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่อผลิตเป็นอาหารปลา ณ ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
ลำดับที่ | รายละเอียด | ค่าเป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
1 | เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการ | 15 คน | 15 คน |
2 | นักศึกษาสาขาวิชาการประมง | 15 คน | 15 คน |
สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ
ในส่วนงานการบริการวิชาการร่วมกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ใช้หลักการในการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น การรักษาสิ่งแวดล้อมต่อสภาพการเลี้ยงในบ่อเพื่อให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก ไม่มีสารเคมี เพื่อเป็นวัฒนธรรมแนวทางการรักษาสิ่งแวดล้อร่วมกันของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาและชุมชน องค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักศึกษามีประสบการณ์จากสภาพจริง และนำไปใช้ประโยชน์จนเกิดผลลัพธ์ สร้างความพึงพอใจต่อชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน