ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าเกษตร
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจการเกษตร
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรให้แก่ชุมชน
- เพื่อยกระดับสินค้าของเกษตรในชุมชนให้เป็นรู้จักด้วยการสร้างช่องทางจำหน่ายหลากหลาย
รายละเอียดกิจกรรม
ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรให้แก่ชุมชนโดยให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มทิศทางสินค้าเกษตร ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร ช่องทางการตลาดแบบออนไลน์และออฟไลน์ การขายสินค้าเกษตรบนแพลตฟอร์มออนไลน์ใน Facebook, Shopee และ Lazada และกลยุทธ์การขายสินค้าออนไลน์
กิจกรรมมีการบูรณาการกับการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาใดบ้าง อย่างไร
หลักสูตรได้มีการบูรณาการกับรายวิชา การตลาดสินค้าเกษตร และ กลยุทธ์การจัดการธุรกิจเกษตร โดยนำเอาองค์ความรู้ในรายวิชาไปถ่ายทอดให้แก่ชุมชน และมีการนำนักศึกษาไปเป็นผู้ช่วยในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเก็บข้อมูลของเกษตรกรที่เข้ารับการอบรม
งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการบริการวิชาการครั้งนี้
หลักสูตรมีการนำองค์ความรู้จากงานวิจัย ห่วงโซ่มูลค่าปลานิลในจังหวัดสกลนคร ของผู้ช่วยศาสตราจารย์เรืองฤทธิ์ หาญมนตรี ไปถ่ายทอดเพิ่มเติม เพื่อให้เกษตรผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงเส้นทางการผลิตสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ
กิจกรรมมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หรือไม่อย่างไร
หลักสูตรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมที่สนใจการทำการตลาดออนไลน์ใน Shopee สอบถามข้อมูล หากผู้เข้าร่วมอบรมหรือกลุ่มเกษตรกรสนใจการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทางออนไลน์ ทางหลักสูตรยินดีเข้าไปช่วยให้คำปรึกษา/แนะนำเกี่ยวกับการทำการตลาดออนไลน์ กลยุทธ์การขายสินค้าทางออนไลน์ให้เกษตรกร
ผลการดำเนินงานในกิจกรรม
ผลการดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าเกษตร ณ ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
ลำดับที่ | รายละเอียด | ค่าเป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
1 | เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการ | 30 คน | 30 คน |
2 | นักศึกษาสาขาธุรกิจการเกษตร | 5 คน | 5 คน |
3 | บุคลากรคณะเทคโนโลยีการเกษตร | 5 คน | 5 คน |
สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ
ผลการดำเนินงานมีเกษตรตำบลม่วง นักศึกษา และบุคลากร จำนวน 40 คน จากการสำรวจผู้เข้ารับการอบรมเบื้องต้นพบว่าเกษตรกรที่เข้าอบรมมีความรู้และไม่มีความรู้เรื่องการตลาดมีความสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 50.00 ของผู้เข้าอบรมทั้งหมด ในส่วนของความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าเกษตร พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (4.29) เมื่อแยกเป็นประเด็นพบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจด้านวิทยากรอยู่ในระดับดี (4.15) ความพึงพอใจด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร อยู่ในระดับดีมาก (4.40) และพึงพอใจด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับดีมาก (4.33)